วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีรับมือจากความวิตกกังวล


วิธีรับมือกับความวิตกกังวล
                ความเครียดวิตกกังวลเป็นคู่แฝดของนักบริหารเสมอ ทั้งนี้เพราะหน้าที่ของนักบริหารคือการ  แก้ปัญหา ซึ่งปัญหาย่อมนำความวิตกหวั่นเกรงให้กับคู่กรณี นายประวีณ  ณ นคร  อดีตเลขาธิการ สำนักงาน ก.พ. ได้เสนอแนะวิธีรับมือกับความวิตกกังวลของนักบริหารระดับสูงไว้ดังนี้  
ปัจจัยที่ทำให้นักบริหารระดับสูงกังวล
1. งาน
      - งานไม่ถูกใจ  มาก  ยาก  เสี่ยงอันตราย
2. คน
     -  ผู้บังคับบัญชา (สั่งมาก  ไม่ชอบหน้า)
     -  ผู้ใต้บังคับบัญชา (ไม่ร่วมมือ  เลื่อยเก้าอี้)
     -  ผู้เกี่ยวข้องอื่น (นักการเมือง  การประท้วง ผู้ขัด 
              ผลประโยชน์  ผู้มีอิทธิพล  ญาติพี่น้อง)
     -  ตนเอง (สุขภาพไม่ดี  ความรู้ไม่พอ  อยากก้าว
        หน้า)
 3. สิ่งแวดล้อม
     - ระเบียบแบบแผน (ตั้ง ยุบ เลิก เปลี่ยน)
     - การเมือง (เปลี่ยนรัฐมนตรี)
     - เศรษฐกิจ (งบจำกัด  งานขยาย)
     - สังคม (ต้องรักษาชื่อเสียงศักดิ์ศรีแต่เงินเดือน
       น้อย)
4. จิตใจ
     - ความอยาก (อยากได้ ดีเด่น รวย)
     - ความเกลียด (โกรธ อิจฉา ไม่ถูกชะตา)
     - ความกลัว (กลัวผิดระเบียบ กลัวเสียหาย
       กลัวไม่สำเร็จ)
     - ความห่วง (ห่วงทำไม่ดี ห่วงคนอื่น
       ห่วงประเทศชาติ)
     - ความรำคาญ (ไม่อยากถูกรบกวน ไม่อยากยึด
       ระเบียบ ไม่ชอบพิธีการ)

วิธีลดความกังวล
1. อย่าเอาปัญหามาเป็นความกังวล
     เพราะปัญหาเป็นงาน
    งานผู้บริหารคือแก้ปัญหาและตัดสินใจ
     ต้องสนุกในการแก้ปัญหา เล่นเกมให้เป็น
2.  ใช้เทคนิค 8 ปล. เพื่อลดความกังวล
     เปลื้อง    ค่อย ๆ เอาออกทีละเรื่อง
     ปลด       ทำให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดออกไป
     ปลิด       ตัดสินแน่วแน่เด็ดมันทิ้งไป
     ปลีก       แยกตัวออก หลบไป
     เปลี่ยน   ทดแทนด้วยสิ่งอื่น
     ปล่อย    วางมือ วางเฉย  คิดว่าไม่ใช่ของเรา
     ปลอบ    เอาใจให้กำลังใจตนเอง
     ปลง       ยอมรับสภาพเป็นกรรมของเรา
3.  ให้เทคนิคตัว และ ตัว 
     ผ่อน   ยืดออกไป  ยืดเวลา
     พัก     หยุดชั่วคราว แล้วกลับมาใหม่
     พูด     ระบายออกไป  แต่อย่าพูดกับหนังสือพิมพ์
      พอ     รู้จักหยุด  เลิก   ไม่โลภ
4. สร้างคุณสมบัติที่ดีของนักบริหาร
    ร่างกาย   สมบูรณ์สู้งานหนักได้
    จิตใจ  เข้มแข็ง
    สมอง   เฉียบแหลม  ตัดสินได้
    คุณธรรม  มีเครื่องยึดเหนี่ยว
    พฤติกรรม  สร้างสรรค์

1 ความคิดเห็น: